>>การผลิตในโรงงานของเรา<<

 

งานหลังพิมพ์

 

การเข้าเล่มแบบเย็บกี่หุ้มปกแข็ง

เป็นการเข้าเล่มหนังสือที่ซับซ้อน แต่มีความแข็งแรงที่สุด เหมาะสำหรับใช้เข้าเล่มหนังสือที่มีความหนา

เปิดปิดบ่อยจึงต้องการความคงทนเป็นพิเศษ เช่น พจนานุกรม สารานุกรม หนังสืออ้างอิง และนวนิยายชนิดปกแข็งเป็นต้น

การเข้าเล่มแบบเย็บกี่มีวิธีการทำซับซ้อนพอสมควร เริ่มตั้งแต่นำกระดาษเนื้อในทั้งเล่มแยกพับ 8 หน้าบ้าง 16 หน้าบ้าง

ตามขนาดหนังสือที่ต้องการ จากนั้นเย็บแยกแต่ละส่วน ในการผลิตจะนับเป็น “ยก” ด้วยเส้นด้าย เรียกว่า “กี่”

ซึ่งจะเย็บร้อยแต่ละกี่ รวมกันเป็นเล่มใหญ่ หุ้มด้วยปกอีกชั้นด้วยวิธีผ่านกาว

 

การเข้าเล่มแบบไสกาว

เป็นวิธีที่นิยมมากที่สุด เนื่องจากมีความเรียบร้อย ราคาไม่สูงเกินไป

ขั้นตอนคือ นำกระดาษที่พับเรียงหน้าเรียบร้อยแล้ว มาไสกระดาษด้านข้างแล้วนำไปผ่านกาวร้อนติดเข้ากับปก

นิยมใช้กับงานพิมพ์ เช่น หนังสือ ตำราเรียน นิตยสาร แต่ข้อเสียของวิธีนี้คือ ความแน่นหนาที่มีในการเข้าเล่มไม่มาก

จึงทำให้ไม่สามารถกางหนังสือออกได้ 180 องศา

 

การเข้าเล่มแบบเย็บมุงหลังคา

เป็นรูปแบบที่นิยมใช้กับการเย็บสมุด หนังสือ ที่มีจำนวนหน้าน้อยๆ

เช่น สมุด โบว์ชัว คู่มือ นิตยสาร วิธีการคือ นำกระดาษทั้งเล่มมาเรียงกันแล้วพับครึ่ง

จากนั้นใช้เครื่องเย็บลวด เย็บตรงแนวพับ 2–3 ตัว

 

การเข้าเล่มแบบเข้าสันห่วง

การเข้าเล่มแบบเข้าห่วงมีข้อดี คือ สามารถกางหนังสือออกได้ถึง 360 องศา

โดยที่หนังสือจะไม่หลุดหรือดีดกลับ นิยมใช้กับงานพิมพ์ เช่น ปฏิทิน สมุดบันทึก หรือหนังสือคู่มือ

 

การทำดรรชนี (Index) ในหนังสือ

เป็นการบอกรายละเอียดเกี่ยวกับ ชื่อ หัวข้อ คำศัพท์ หัวเรื่อง ชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง ชื่อคน ชื่อสถานที่

หรือรายการอื่น ๆ ที่มีความสำคัญในหนังสือ จะบอกว่าอยู่หน้าไหนในหนังสือเล่มนั้น แบ่งโดยการกั้นออกมา

 

ประเภทห่วงปฏิทิน + สมุด สีและแบบต่างๆ

การเข้าห่วงมีความสวยงาม หลากหลาย เนื่องจากมีวัสดุ แบบ และสีสันของห่วงให้เลือกมากมาย

ไม่ว่าจะเป็นห่วงพลาสติก หรือห่วงเหล็ก แต่ราคาการเข้าเล่มแบบนี้จะสูงกว่าแบบไสกาว

 

การเคลือบ UV เปรียบเทียบกับ การเคลือบ PVC ด้าน

 

การเคลือบ PVC ด้าน เปรียบเทียบกับ การเคลือบ PVC เงา

 

การเคลือบเงาเฉพาะจุด + การปั๊มนูน

 

การเคลือบเงาเฉพาะจุด (Spot UV Coating)

เป็นการเคลือบเงาเฉพาะจุดของงานพิมพ์ เช่น ตัวอักษรบางจุด ภาพที่ต้องการเน้น โลโก้ เป็นต้น

ซึ่งจะนิยมเคลือบ PVC ด้านทั้งแผ่น ก่อนการเคลือบ Spot UV เฉพาะจุด

เพราะจะทำให้งานออกมาดูดีกว่าการ Spot UV เพียงอย่างเดียว งานพิมพ์ที่เหมาะสำหรับ

การเคลือบเงาเฉพาะจุด อย่างเช่น นามบัตร โปสการ์ด การ์ดแต่งงาน ปกหนังสือ แพ็คเกจจิ้งต่าง ๆ

 

การเคลือบ UV + การปั๊มนูน

 

การเคลือบ PVC ด้าน + การเคลือบเงาเฉพาะจุด

 

การปั๊มฟอยล์ทอง

เป็นการปั๊มแผ่นฟอยล์ด้วยความร้อนติดกับงานสิ่งพิมพ์ตามรูปแบบที่ได้ทำแม่พิมพ์ไว้

เพื่อเพิ่มความโดดเด่นให้กับชิ้นงาน ต้องอาศัยประสบการณ์และความสามารถ การผลิตเป็นที่นิยม

เช่น การ์ดแต่งงาน ประกาศนียบัตร นามบัตร ปัจจุบันมีฟอยล์หลากหลายสีให้ได้เลือกใช้

 

การปั๊มฟอยล์เงิน + การปั๊มนูน

 

การปั๊มนูน + การปั๊มฟอยล์ทอง

 

การปั๊มจม

เป็นการสร้างลวดลายบนชิ้นงานโดยการกดทับกระดาษให้ลึกลงไปให้ได้รูปลักษณ์ตามแบบของแม่พิมพ์ที่กดทับ

ทำให้รูปภาพหรือข้อความมีลักษณะจมลงกว่าปกติ เพื่อเน้นให้งานพิมพ์บริเวณนั้นๆ สวยงาม ดูมีมิติมากขึ้น

นิยมใช้กับโลโก้ของนามบัตร, โลโก้บนปกไดอารี่, ตัวหนังสือบนปกหนังสือ

 

การเจาะช่องหน้าต่าง

เป็นการโชว์ และสามารถเห็นสินค้าภายในกล่อง

 

การปั๊มทองเงา เปรียบเทียบกับ การพิมพ์ด้วยทองด้าน

 

บล็อคปั๊มฟอยล์ทอง

 

บล็อคปั๊มนูน

 

บล็อคไดคัท

 

สีพิเศษในงานพิมพ์ (Pantone)

 

การปะซองตะเกียบ

 

งานเจาะหน้าต่างเคลือบ pvc ใส ราคาจะถูกกว่านำ pvc มาติดกาว